บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2019

เลือกกิน Carbohydrate ด้วย Glycemin Index

รูปภาพ
https://nuts.com/healthy-eating/glycemic-index มีเพื่อนใครบ้างไม่กินน้ำตาลกลัวน้ำตาลทุกอย่างในอาหารทุกประเภท มีเพื่อนใครชอบน้ำหวาน ชาไข่มุก, ขนม 7-11 ต่างๆ เราว่าทุกอย่างมีประโยชน์และก็โทษในตัวเองถ้าเราทำอะไรสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่งมันก็ต้องไม่ดีแน่ ดังนั้นการหาสมดุลที่พอดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายคนคงทราบมาแล้วว่าทำไมเราถึงชอบความหวานนัก บางคนคงเคยหาอ่านบทความที่พูดเปรียบเทียบเกี่ยวกับการติดน้ำตาลกับการติดโคเคน ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเรามนุษย์ถูกสมองโบราณที่วิวัฒนาการไม่มันเทคโนโลยีหลอก ดังนั้นพอหลายคนทราบถึงความจริงนี้ก็เลยหลีกเลี่ยงน้ำตาลสะหมดเลย แต่จริงๆแล้วการกินน้ำตาลก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้นนะถ้าระวังมากพอหรือบริหารน้ำตาลในเลือดให้เป็น ถึงแม้เราจะไม่ได้เป็นผู้ป่วยเบาหวานก็ตามเถอะ การหัดบริหารระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ตอนยังไม่ป่วยย่อมดีกว่าป่วยแล้วค่อยมารักษา แล้วเราจะบริหารยังไงล่ะครับ GI is The Key. What is Glycemic Index (GI) GI เป็น index ที่วัดว่าอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตมีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยอย่างไร เราสามารถแบ่งระดับของ GI ได้สามระดับดังนี้ Low : 55 ...

Mersenne Prime

รูปภาพ
สวัสดีครับเพื่อนๆทุกคนวันนี้เราจะมาชี้ช่องทางรวย... เฮ้ย!! คุณมีโอกาสได้เงิน $5000 เพียงแค่เปิดคอมทิ้งไว้แล้วให้คอมมันทำงาน... ไม่ครับไม่ใช่ขุด Bitcoin แต่มันคือการขุด Prime number!!! ก่อนจะพูดถึงเรื่องงเงินเรื่องงานของกล่าวให้เกียรติแก่ผู้คิดค้นนะครับ Marin Mersenne  Marin Mersenne นักบวชชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ผู้ที่เป็นทั้ง พระ นักคณิตศาสตร์ และนักดนตรีจนได้ขนานนามว่า Father of acoustics เขามีเครือข่ายกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์หลายคนเช่น Descartes, Fermat, Galileo และสิ่งที่ทำให้เขาป็นท่ีรู้จักมากที่สุดคือ Mersenne Prime Mersenne Prime https://www.mersenne.org ตามรูปเลยครับ Mersenne Prime ก็คือ subset ของ Prime number ที่เขียนในรูป 2 ยกกำลังด้วยจำนวนธรรมชาติบางตัวแล้วเอาไปลบออกด้วย 1 The Search for Mersenne Primes การตามล่าหา Mersenne Prime ก่อตั้งโดย GIMPS (Great Internet Mersenne Prime Search) ในปี 1996 ตามชื่อแล้วเค้าไม่มานั่งหา Prime Number ด้วยมือหลอกครับ องค์กรนี้หา Prime Number โดยใช้คอมพิวเตอร์ครับ...แต่ปัญหาในสมัยนั้...

The Birthday Paradox

รูปภาพ
The Birthday paradox หรือ The Birthday problem ถือว่าเป็นปัญหาคลาสสิกของวิชา Probability เลยก็ว่าได้ สำหรับผมแล้วเจอปัญหานี้ในการเรียนคาบแรกเลยของวิชา Probability สำหรับคนที่รู้จักปัญหานี้แล้วก็ถือว่าหลงเข้ามานะครับ ส่วนใครไม่เคยพบเห็นมาก่อนก็มาดูกันเลย... Defining the problem จำเป็นต้องมีคนอยู่ในห้องกี่คนที่จะทำให้มีโอกาสอย่างน้อย 50% ที่จะมีคนเกิดในวันเดียวกันอยู่ในห้อง           เจอครั้งแรกผมงงเลยนะครับว่ามันต้องมีกี่คนกันแน่...แต่ที่งงกว่าในตอนนั้นคือไม่เข้าใจคำถามครับ หนักเลย...  คำถามนี้ถ้าเราสมมติเงื่อนไขบางอย่างขึ้นเชื่อไหมครับว่ามันจะเป็นปัญหาที่ง่ายขึ้นเยอะเลยและสิ่งที่เราจะสมมติกันคือ  เราสมมติว่าไม่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ครับดังนั้นในหนึ่งปีจะมีเพียง 365 วันเท่านั้น  เราจะสมมติให้โอกาสที่คนจะเกิดในวันใดๆก็ตามใน 365 วันนี้มีโอกาสเกิดเท่าๆกัน เราสมมติแบบนี้เพื่อตัดปัจจัยของเทศที่มีผลต่อการเกิดของคนออก ยกตัวอย่างเช่น คนในประเทศไทยน่าจะเกิด 9 เดือนหลังจากวันวาเลนไทน์มากกว่าคนที่เกิด 9 เดือนหลังจากวันวิสาขบูชา(คนไทยอาจจะถือพรห...